วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

                ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นตำนานของปราชญ์ท้องถิ่น วิถีชีวิตชาวบ้าน ตลอดจนวัฒนธรรมที่ดีงามของการเรียนรู้ เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถพัฒนาสังคมแห่งการเรียนสังคมเอื้ออาทร สังคมภูมิปัญญา
ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว พัทลุง
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวบ้านควนขนุน
สถานที่ผลิต 215 หมู่ที่ 9 ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ประธานกลุ่ม นางเรณู ชูพิทักษณาเวช
ประวัติความเป็นมา มนุษย์รู้จักมะพร้าวมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล มะพร้าวเป็นอาหารทำน้ำมัน และทำเป็นเครื่องปรุงอาหารหวานคาวนานาชนิดมะพร้าวจึงเป็นพื้นที่มนุษย์ทุก ชาติทุกภาษารู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดี กะลามะพร้าว ได้รับการประดิษฐ์เป็นจับปิ้งเพื่อห้อยเป็นเครื่องปกปิดอวัยวะเพศของเด็ก หญิงตัวน้อยได้อีกอย่างหนึ่งโดยทั่วไปเครื่องปกปิดอวัยวะเพศของเด็กหญิงนั้น ในหมู่ผู้มีฐานะ จะทำด้วยเงินทองหรือนาก แต่ข้าวบ้านที่มีความเป็นอยู่ไม่ดีนักก็ใช้จับปิ้งกะลาหรือเรียกว่าปิ้งพล กก็มากมะพร้าวจึงมีอรรถประโยชน์นานาประการ กะลามะพร้าวนั้นเคยทำเป็นของใช้ประเภท ขันตักน้ำกระบวยตักน้ำ และทำเป็นป้อยตวงข้าวสารสำหรับหุงข้าวกันมานาน เพิ่งจะหายไปเมื่อเร็วๆ นี้ คนบางคนที่ไม่กินเนื้อสัตว์ยามไปกินอาหารในงานต่าง ก็จะใช้กะลาใหม่ ๆใส่อาหารรับประทาน เสร็จแล้วก็โยนทิ้งไปทำนองเดียวกับการใช้ถ้วยชามโฟมในปัจจุบันนี้ ดังนี้จะเห็นว่ามะพร้าวหรือกะลามะพร้าวได้นำมาจัดทำผลิตภัณฑ์หลายชนิด ความสำคัญของกะโหลกกะลาในสมัยก่อนนั้นมีน้อยนิดเดียวจึงเกิดการเปรียบเปรยคน ที่ใช้ชีวิตอย่างไร้คุณค่า คือไม่ได้ทำอะไรเลย เพลไถลไปเรื่อยๆ จะถูกเรียกขานว่า “ไอ้พลกไอ้ต้อ” เป็นการบ่งบอกถึงความไร้ค่าเสมอด้วยกะลา
ความไม่แน่นอนเป็นสิ่งแน่นอนจริง ๆจึงก้าวมาถึงวันที่กะลาอันไร้ค่า เกิดมีค่าขึ้นมาในสายตาของนักประดิษฐ์มีการจัดการแปรรูปกะลาเป็นผลิตภัณฑ์ ที่เพิ่มคุณค่าได้มากหลายนอกจากทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน เครื่องประดับและเครื่องแต่งกายสภาพสตรี ออกแบบเป็นกระเป๋าถือ สภาพสตรี เข็มขัด เข็มกลัดปั่นปักผม สร้อย ที่เด่น ๆ ก็ได้แก่ โคมไฟฟ้าสามขา และตะเกียงเจ้าพายุนักประดิษฐ์ได้คิดค้นผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวรูปแบบใหม่นานา ชนิด ซึ่งได้หลั่งไหลไปสู่ตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศอย่างไม่ขาดสาย
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ ลักษณะที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว
1. เป็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นตำนานของปราชญ์ท้องถิ่น วิถีชีวิตชาวบ้าน ตลอดจนวัฒนธรรมที่ดีงามของการเรียนรู้
2. มีลักษณะโดดเด่นที่เน้นงานฝีมือของชาวบ้านที่สามารถพัฒนาและเพิ่มคุณค่าของวัสดุในท้องถิ่นและไม่ลายสิ่งแวดล้อม เป็นวิถีทางสังคมได้อย่างลงตัว
3. เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถพัฒนาสังคมแห่งการเรียนสังคม เอื้ออาทร สังคมภูมิปัญญาไปพร้อมกับการพัฒนารายได้ขยายการผลิตการตลาดอย่างกว้างขวาง และสามารถ ทำรายได้สู่ชุมชนและจังหวัดพัทลุงปีละหลายล้านบาทอีกทั้งวิถีชีวิตของชุมชน ยังส่งผลให้ธุรกิจการท่องเที่ยวเจริญเติบโดตามไปด้วย จะมีความนุ่มและสวยงามคงทนทำจากวัสดุธรรมชาติซึ่งหาได้ในพื้นที่
ความสัมพันธ์กับชุมชน จากภูมิปัญญามาเป็นรายได้ จากสิ่งที่อยู่เหมือนไร้ค่า ชาวบ้านไม่ให้ความสำคัญจนมีแนวนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมภูมิปัญญาและ วิสาหกิจชุมชนมีการพัฒนาตามแนวทางโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมการขายและการตลาดมากขึ้นเป็นที่รู้จักมากขึ้น ดำเนินการจัดตั้งกลุ่มเริ่มจากจำนวนสมาชิกน้อยผลิตของชิ้นเล็ก ๆ และได้พัฒนาฝีมือขึ้นมาตามลำดับ ผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาดและได้พัฒนาฝีมือขึ้นตามลำดับประกอบกับมี ความรู้และประสบการณ์เดิมที่สั่งสมมาจากบิดา นายสาธิต ชูพิทักษณาเวช ได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามามีส่วนร่วมใน การผลิตรูปแบบของผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นอาชีพเสริมในการสร้างงานและสร้างรายได้ ให้กับครอบครัวและสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้น จำนวน 30 คน มีการขยายการผลิต ขยายการตลาดมากขึ้น ได้รับการยอมรับในท้องถิ่น ตลาดในจังหวัดต่างจังหวัดและต่างประเทศรายได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ ความสามารถและทักษะดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อ กันมาจากบรรพบุรุษซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านที่ ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมาจึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันธุ์เหมือนญาติพี่ น้องอย่างเหนียวแน่นกอรปกับการผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างเหมาะสมกับ สถาพท้องถิ่น “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” จึงเป็นสิ่งสำคัญ มีคุณค่าควรได้มีการบันทึกเพื่อการอนุรักษ์และถ่ายทอดต่อชุมชนรุ่นหลังสืบไป
ขั้นตอนการผลิต การเตรียมวัตถุดิบ ขั้นแรกต้องหากะลามะพร้าวจากที่ใกล้ๆ ถ้าไม่มีต้องสั่งจากท้องถิ่นอื่น โดยนำมาคัดขนาดรูปร่างของลูกมะพร้าวตามที่ต้องการตามแบบที่ลูกค้าต้องการ หรือตามคำสั่งจัดการขูดเนื้อมะพร้าวออกจำหน่าย และรอขั้นตอนการจัดขึ้นรูป เมื่อขึ้นรูปแบบชิ้นส่วนประกอบตัวผลิตภัณฑ์เรียบร้อยแล้วตกแต่งด้วยการพ่นเล็คเกอร์ ขัดน้ำมันมะกอก หรือขัดเงากับผ้า จนดูเรียบร้อย สวยงาม ตามความเหมาะสมของเนื้องานและก่อนขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์หรือรอการจำหน่าย ได้ดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าทุกชิ้นโดยการตรวจดูความเรียบร้อย ถ้าเป็นโคมไฟต้องทดสอบความปลอดภัยของสายไฟ และหลอดไฟ ตลอดจนการใช้งานของผลิตภัณฑ์ก่อนส่งจำหน่ายถึงมือลูกค้า
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต ต้องเป็นกะลาที่แก่มากๆ เพราะจะไม่เป็นเชื้อราและหดตัว
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การหาตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่ง ส่วนใหญ่คณะกรรมการกลุ่มจะทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรงต้องติดต่อประสานงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนในการนำผลิตภัณฑ์กระจูดไปวางขายที่ตลาดภาย ในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดห้างสรรพสินค้า และตลาด กรุงเทพฯ พร้อมทั้งนำออกแสดงและจำหน่ายในงานต่างๆเช่นงานแสดงสินค้าเมืองทองธานี กรุงเทพๆ ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้ชมงานและผู้ส่งออกจนมีใบสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ตามมาเป็น จำนวนมากซึ่งกลุ่มมีกำลังการผลิตและแหล่งวัตถุดิบที่ยังสามารถเพิ่มปริมาณ การผลิตได้อีกเท่าที่ลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวของกลุ่มและน่าจะมี อนาคตที่ยาวไกล ถ้าตราบใดที่ยังรวมกันเป็นกลุ่ม และปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเศษวัสดุจากกะลามะพร้าวและไม้ เป็นวัสดุที่มีอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากวิถีชีวิตต้องบริโภคเป็นประจำวัตถุดิบ ที่ไม่มีวันหมด
สถานที่จำหน่าย ศูนย์หัตถกรรมกะลามะพร้าวและสินค้า OTOP อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงสถานที่ตั้งบ้านเลขที่ 215 หมู่ที่ 9 ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โทร.0-7468-1217หรือสามารถติดต่อขอรายละเอียดผ่านทางสำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอควนขนุน โทร 0-7468 -2000 ราคาจำหน่ายตั้งแต่ 10 – 5,000 บาท ขึ้นอยู่กับชิ้นงานต้นทุน ความยากง่าย และฝีมือ

               ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นข้าวสังข์ที่ปลูกเฉพาะในจังหวัดพัทลุงเท่านั้น เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพข้าวสังข์หยด และส่งเสริมอุตสาหกรรมในท้องถิ่นด้วย รวมถึงยังสามารถกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชน
 ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเขากลาง
สถานที่ผลิต บ้านเลขที่ 7 หมู่ที่ 13 บ้านคลองตรุเขากลาง ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 93000
ประธานกลุ่ม นายนัด อ่อนแก้ว
ประวัติความเป็นมา ข้าวสังข์หยดเป็นพันธุข้าวพื้นเมือง เป็นพันธุ์ข้าวเฉพาะถิ่นมีแหล่งปลูกดั้งเดิม อยู่ในจังหวัดพัทลุง ปลูกกันมานานไม่ต่ำกว่า 100 ปี มีลักษณะพิเศษ คือ ข้าวกล้องมีสีแดงเข้ม นิยมบริโภคในรูปแบบข้าวซ้อมมือ จมูกข้าว เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง พันธุ์ข้าวสังข์หยดถูกเก็บรักษาไว้โดยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชาวเมือง พัทลุง ตลอดระยะเวลายาวนาน จากหลักฐานการรวบรวมพันธุ์ในท้องถิ่นต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตามโครงการบำรุงพันธ์ข้าว เมื่อ พ.ศ. 2493 โดยกองบำรุงรักษาพันธุ์ กรมการค้าข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปรากฏว่า ชื่อข้าวสังข์หยดเป็น 1 ใน 11 ตัวอย่างพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ที่เก็บรวบรวมจากอำเภอเมืองพัทลุง ซึ่งปรากฏใน Locality ที่ 81
ต่อมาในปี 2525 ได้มีการเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองอีกครั้ง ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงเก็บรวบรวมพันธุ์ข่าวได้ 1997 พันธุ์ พันธุ์ข้าวสังข์หยด (KGTC 82039) เป็นตัวอย่างพันธุ์ที่เก็บรวบรวมจากแหล่งปลูกที่ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เป็นหนึ่งในจำนวนตัวอย่างที่ได้เก็บรวบรวม หลังจากนั้นในปี 2530 มี การปรับปรุงพันธุ์โดยเลือกพันธุ์ข้าวแบบหมู่ (Mass Selection) จนได้สายพันธุ์ข้าวสังข์หยดที่ดี มีความสม่ำเสมอตามลักษณะประจำพันธุ์ คือ มีลักษณะเมล็ดเรียวยาว อายุเบา ปริมาณ อมิโลสต่ำ ข้าวสารมีสีขาวขุ่น ข้าวกล้องมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวปนแดงจาง ๆ จนถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุกใหม่ ๆ จะมีความนุ่มมาก และยังคงนุ่มอยู่เมื่อเย็นตัวลง
ในปี 2549 ข้าวสังข์หยดพัทลุง ได้รับคำประกาศรับรองให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (ข้าว GI) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบงชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546 โดยใช้ชื่อว่า “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2549 นับเป็นข้าว จี ไอ พันธุ์แรกของประเทศไทย จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้เกิดการแปรรูปข้าวสังข์หยดในรูปแบบของการซ้อมมือเพื่อจำหน่ายใน ชุมชน และจังหวัดใกล้เคียง จนเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ทำให้ปริมาณของสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ตลอดจนไม่มีการควบคุมและพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ทั้งการบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนารูปแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ 1. ข้าวกล้องมีสีแดงเข้ม 2. เป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูง
มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ
1. รางวัล OTOP 5 ดาว ปี 2553
2. มผช. ปี 2553
3. ผู้ผลิตผู้จำหน่ายข้าวสังข์หยดเมืองลุง
ความสัมพันธ์กับชุมชน
1. กลุ่มได้รับซื้อวัตถุดิบจากสมาชิกและประชาชนในหมู่บ้าน และตำบลใกล้เคียง
2. สร้างอาชีพเสริมให้กับประชาชนในชุมชน 3. ประกันราคาผลผลิตให้กับชุมชน โดยซื้อข้าวเปลือกในราคาสูงกว่าราคาประกันของรัฐบาล
วัตถุดิบและส่วนประกอบ ข้าวเปลือกพันธ์สังข์หยด (คัดเอาเฉพาะจากแปลงปลูกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานข้าว GI เท่านั้น)
ขั้นตอนการผลิต 1. นำข้าวเปลือกไปตากให้แห้ง 2. นำเข้าเครื่องสี 3. คัดเลือกสิ่งเจือปน 4. นำไปบรรจุถุงเพื่อส่งจำหน่าย
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต 1. รักษาคุณภาพ 2. รักษาความสะอาดในทุกขั้นตอนการผลิต 3. คัดเลือกสิ่งเจือปนด้วยมือก่อนบรรจุถุง 4. วัตถุดิบต้องมีคุณภาพ
แหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์
1. ที่ทำการกลุ่ม
2. ตลาดในกรุงเทพมหานคร
3. ร้านค้าในจังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง
4. ศูนย์ OTOP โลตัสพัทลุง
Cr.ภาพจาก HotelDirect.in.th




               ผลิตภัณฑ์จากกระจูด มีลักษณะที่โดดเด่น คือ จะมีความนุ่มและสวยงามคงทนทำจากวัสดุท้องถิ่นซึ่งหาได้ในธรรมชาติ ย้อมสีตามต้องการ เน้นดอกและลวดลายของผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการของตลาด ฝีมือปราณีต รูปแบบสวยงามทันสมัย มีคุณภาพคงทน
ผลิตภัณฑ์จากกระจูด พัทลุง
กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มสตรีผลิตภัณฑ์กระจูด
สถานที่ผลิต 94 หมู่ที่ 2 บ้านทะเลน้อย ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ประธานกลุ่ม นางยินดี อรุณรัตน์
ประวัติความเป็นมา นานมาแล้ว ตำบลทะเลน้อยมีสภาพเป็นป่าดงดิบ พื้นที่บางแห่งเป็นป่าพรุมีน้ำท่วมขังตลอดปีมีพืชพันธุ์ไม้นานาชนิดเป็น แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าและเป็นแหล่งปลาน้ำจืดที่สำคัญ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการประมงและทำนาเป็นหลัก ในยามว่างมีการจักสานเสื่อที่ทำด้วยกกไว้สำหรับใช้ในครัวเรือน
นางยินดี อรุณรัตน์ สมาชิกกลุ่มสตรีเล่าว่า ภูมิปัญญาในการจักสานนี้ สืบทอดมาตั้งแต่ปู่ ย่า ตา ยาย นับ 100 ปีมาแล้ว แต่ภูมิปัญญาในการจักสานด้วยกระจูดที่เท่าสมารถบันทึกเป็นหลักฐานได้เริ่ม จากครอบครัว 3 พี่น้อง สกุล รักษ์จุล ประกอบด้วยนายกลับ- นางกลั่น นายจับ – นางคล้าย และนายลาภ -นางเลื่อน อพยพมาจากบ้านผาสุกตำบลแหลมตีน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มาตั้งรกรากในพื้นที่ตำบลทะเลน้อย พร้อมทั้งนำภูมิปัญญาในการจักสานด้วยกระจูดทำเป็นของใช้ในครัวเรือนเช่น เสื่อ กระสอบนอน กระสอบนั่ง โดยนำกระจูดมาจากตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชเนื่องจากของใช้ที่ทำด้วยกระจูดมีความนุ่มและสวยงาม กว่าของที่ทำจากกก ชาวบ้านในตำบลจึงหันมาจักสานกระจูดบ้างซึ่งมักจักสานเป็นเสื่อสำรับปู นั่ง นอน ชาวบ้านเรียกว่า สาด
นอกนี้ยังสานเป็นสอบหนาดใช้เป็นภาชนะใส่ถ่านและใช้สำหรับทารกแรกเกิดนอน และสานเป็นกระสอบนอนเพื่อใช้สำหรับใส่ข้าวสารและข้าวเปลือก เป็นต้น ก ชาวตำบลทะเลน้อยจึงเริ่มเก็บเกี่ยวกระจูดมาจักสาน ซึ่งแหล่งที่มีกระจูดมากที่สุด คือ พรุควนเคร็ง ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชในแต่ละวันจะเห็นเรือถ่อ เรือแจว จากตำบลทะเลน้อยมุ่งหน้าไปตัดกระจูที่พรุควนเคร็งนับร้อยลำ จนกระทั่งชาวตำบลเคร็ง ได้ห้ามตัดกระจูด เพราะทำให้โคนกระจูดเน่าและทำให้ต้นกระจูดตายแต่อนุญาตให้ถอนได้ กำนันสุก ทองพูลเอียด กำนันตำบลพนางตุงในสมัยนั้น ได้ชักชวนชาวบ้านไปขุดหัวกระจูดที่ตำบลเคร็งมาปลูกที่ทะเลน้อย แต่ชาวบ้านก็ยังคงเดินทางไปถอนกระจูดเรื่อยมาเนื่องจากมีปัญหาเรื่องศัตรูพืช ได้แก่นกพริกซึ่งเป็นสัตว์สงวนมักเข้าทำลาย จิกถอนหัวอ่อนของกระจูด และในช่วงหน้าน้ำ น้ำมักท่วมพื้นที่ปลูกกระจูดทำให้หัวกระจูเน่าเปื่อย และตายในที่สุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2502 ผู้ใหญ่คง อรุณรัตน์ ผู้ใหญ่ยกนวลแก้ว นายขาว ชูทอง และนายแคล้ว ทองนวล ผู้นำตำบลทะเลน้อย ได้ร่วมกันปลูกกระจูดอย่างจริงจังโดยนำหัวกระจูดจาดควนเคร็ง มาปลูกริมทะเลน้อยโดยรอบ ซึ่งได้ผลค่อนข้างดี ชาวบ้านตำบลทะเลน้อยจึงหันมาจักสานกระจูดเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนกันแทบ ทุกครัวเรือนจนกระทั่งมีการซื้อขายกันทั้งในและนอกหมู่บ้าน ตำบล ทำให้เกิดรายได้เป็นกอบเป็นกำ ชาวบ้านจึงยึดการจักสานกระจูดเป็นอาชีพหลักตั้งแต่นั้นมา
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์ ลักษณะที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์กระจูด จะมีความนุ่มและสวยงามคงทนทำจากวัสดุท้องถิ่นซึ่งหาได้ในธรรมชาติ ย้อมสีตามต้องการ เน้นดอกและลวดลายของผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการของตลาด ฝีมือปราณีต รูปแบบสวยงามทันสมัย มีคุณภาพคงทน
ความสัมพันธ์กับชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ ความสามารถและทักษะดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อ กันมาจากบรรพบุรุษซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านที่ ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมาจึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันธุ์เหมือนญาติพี่ น้องอย่างเหนียวแน่นประกอบกับการผสมผสานกับองค์ความรู้ใหม่ได้อย่างเหมาะสมกับ สภาพท้องถิ่น “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” จึงเป็นสิ่งสำคัญ มีคุณค่าควรได้มีการบันทึกเพื่อการอนุรักษ์และถ่ายทอดต่อชุมชนรุ่นหลังสืบไป นอกจากนี้ยังช่วยสร้างสัมพันธ์ของสมาชิกภายในครอบครัวและในกลุ่มสมาชิกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพราะทุกคนต่างช่วยกันถักสานกระจูดกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างต่อเนื่อง
วัตถุดิบ - กระจูด - สีที่ใช้ย้อมกระจูด – ลูกกลิ้ง
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต - เครื่องรีดกระจูด ผ้ากุ๊ย - จักรเย็บ - สายวัด - บล็อกแบบต่างๆ - ซิป - สีเคมี - กระดุมไม้ - กาวลาเท็กซ์ - เชือกกกหรือเชือกกระจูด - กาวตราช้าง - หูไม้สำเร็จรูป - น้ำมันวานิช - ตอกกระจูด - แปรง - เอ็น - เข็มกรรไกร - ด้าย
ขั้นตอนการเก็บกกเพื่อใช้เป็นวัสดุจักสาน เริ่มจากการถอนต้นกกกระจูดในแหล่งน้ำ ที่โตเต็มที่แล้วอายุประมาณ 2-3 ปี คัดเลือกต้นกกให้ได้ขนาดและความยาวตามต้องการ นำต้นกกกระจูดที่ถอนได้ไปตัดหัวตัดท้ายให้ได้ขนาดซึ่งการถอนกระจูดโดยทั่วไป มักทำหลังช่วงฤดูฝนไปแล้วเพราะต้นกระจูดจะขึ้นสูงชะลูดและมีตอกบาสะดวกแก่ การนำไปทำให้แบน จะทำให้ตอกกระจูดไม่มีรอยแตกกระจูดที่ได้ในช่วงระยะนี้ ตอกจะมีความเหนียวนิ่ม ไม่เปราะบางหรือแตกง่าย
ล้างทำความสะอาด นำไปคลุกกับดินโคลนให้เปียกทั่วกันพอเกาะติดผิวกระจูดบางๆเพื่อป้องกันไม่ ให้กระจูดเหี่ยวหรือแตกหักง่ายเวลาผึ่งแดดช่วยให้กระจูดที่แห้งแล้วมีผิวนวล เพราะถ้าไม่นำกระจูดไปชุบน้ำดินโคลนก่อนเวลาตากแดดจะทำให้กระจูดมีสีออกแดงๆ และกรอบขาดง่าย การผึ่งแดด จะใช้วิธีตั้งกระจูดเป็นแนวดิ่งแล้วแผ่กระจูดกางเป็นฐานหรือวางเรียงกระจูด ให้กระจายบนพ้นที่เรียบๆ ถ้ามีแดดจัดๆจะใช้เวลาผึ่งแดดประมาณ 2 – 3 วัน จะทำให้กระจูดแห้งเร็วและนำมารวมกันเก็บไว้บริเวณใต้ถุนบ้านนำไปมัดเก็บรวม กัน เก็บไว้ในที่ร่ม เส้นกระจูดที่ได้จะมีคราบฝุ่นจากโคลนสีขาว ๆ ติดอยู่ตลอดทั้งเส้น
กระจูดที่แห้งดีแล้วนำมาทุบให้ต้นกระจูดเป็นเส้นแบนๆ โดยใช้วิธีเอากระจูดไปวางบนพื้นเรียบๆที่เตรียมไว้และใช้ไม้ที่เรียก ว่า“สาก” ทุบตำหรือทิ่ม จนกระทั่งกระจูดบนเรียบหมดทุกตอกเสร็จแล้วจะลอกกาบของต้นกระจูดทิ้ง หรืออีกวิธีหนึ่งของการทำให้ตอกกระจูดแบนโดยใช้ลูกกลิ้งคอนกรีตกลิ้งทับบน ตอกกระจูดแทนการใช้ไม้ตำ
นำเส้นกระจูดที่เตรียมไว้มาทุบด้วยสากตำข้าวอีกครั้ง เพื่อให้เส้นกระจูดพอช้ำๆ และเส้นนุ่มนิ่มลง สลัดแรงๆเอาฝุ่นของดินโคลนที่เกาะติดอยู่ออกให้มากที่สุด นำผ้าชุบน้ำหมาดๆ มาเช็ดทำความสะอาดและเพื่อให้เส้นกระจูดมีความชื้นเมื่อนำมาถักสานจะทำได้ ง่าย และสวยงาม ถ้าต้องการเส้นสี ก็ย้อมด้วยสีย้อมกกทั่วๆ ไป แล้วนำเส้นกระจูดมาแขวนตากไว้ให้แห้งหลังจากนั้นเข้าสู่การจัดทำเป็นรูปแบบ ต่างๆ ตามต้องการนำผลิตภัณฑ์ที่สานเสร็จแล้วไปตกแต่งหรือตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์ตาม ต้องการ สุดท้ายเป็นการลงใช้ยูรีเทนเคลือบ ให้มันวาว และคงทนทั้งรูปร่างและการใช้งาน
เคล็ดลับการเตรียมเส้นกระจูดสำหรับการจักสาน คือ จุดที่สำคัญอันดับแรกของงานทุกรูปแบบเมื่อได้ต้นกระจูดมาแล้ว ให้นำไปแช่ในน้ำโคลนเพื่อไล่ไขมันที่ลำต้นออก โดยกระจูดที่ผ่านการแช่น้ำโคลนจะมีคุณสมบัติเหนียวและไม่มีความชื้นเมื่อ เก็บไว้นาน ๆ จะไม่เกิดปัญหาเรื่องเชื้อรา
           การหาตลาดและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่คณะกรรมการกลุ่มจะทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบโดยตรง ต้องติดต่อประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุน ในการนำผลิตภัณฑ์กระจูดไปวางขายที่ตลาดภายในหมู่บ้านตำบล อำเภอ จังหวัด ห้างสรรพสินค้า และตลาด กรุงเทพฯ พร้อมทั้งนำออกแสดงและจำหน่ายในงานต่างๆเช่นงานแสดงสินค้าเมืองทองธานี กรุงเทพๆ ซึ่งเป็นที่สนใจของผู้ชมงานและผู้ส่งออก จนมีใบสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ตามมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มมีกำลังการผลิตและแหล่งวัตถุดิบที่ยังสามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้ อีกเท่าที่ลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์จักสานกระจูดของกลุ่มและน่าจะมีอนาคตที่ ยาวไกล ถ้าตราบใดที่ยังรวมกันเป็นกลุ่ม และปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ กกกระจูด ในแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นวัตถุดิบที่ไม่มีวันหมด ถ้าทุกคนช่วยกันดูแลรักษา ไม่แก่งแย่งที่จะเอาประโยชน์อย่างเดียว จะต้องรู้จักวิธีการปกป้องรักษาทรัพย์สินจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้คงอยู่และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
Cr.ภาพจาก HotelDirect.in.th
ประวัติความเป็นมาของเมืองพัทลุง
              จังหวัดพัทลุง มีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ดังปรากฏหลักฐานจากการค้นพบขวานหินขัดในท้องที่ทั่วไปหลายอำเภอ   ในสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-14) บริเวณเมืองพัทลุงเป็นแหล่งชุมนุมที่ได้รับวัฒนธรรมอินเดีย ในด้านพุทธศาสนาลัทธิมหายาน มีหลักฐานค้นพบ เช่น   พระพิมพ์ดินดิบจำนวนมาก เป็นรูปพระโพธิสัตว์รูปเทวดา โดยค้นพบบริเวณถ้ำคูหาสวรรค์และถ้ำเขาอกทะลุ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 19 เมืองพัทลุง   ได้ตั้งขึ้นอย่างมั่นคง ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยามีฐานะเป็นเมืองชั้นตรี ซึ่งนับว่าเป็นหัวเมืองหนึ่งของพระราชอาณาจักรทางใต้ ในสมัยนั้น   เมืองพัทลุงมักจะประสบปัญหาการโจมตีจากกลุ่มโจรสลัดมาเลย์อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโจรสลัดอาแจะอารูและยุยงคตนะ   ได้โจมตีเผาทำลายสร้างความเสียหายแก่เมืองพัทลุงถึงสองครั้ง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืองอยู่เสมอ   และก็เป็นมูลเหตุที่ทำให้ชาวเมืองพัทลุงเป็นนักต่อสู้ที่เข้มแข็ง

             ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ได้มีการย้ายสถานที่ตั้งเมืองอีกหลายครั้ง และได้ยกขึ้นเป็นเมืองชั้นโท   ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในช่วงนี้เมืองพัทลุงมีผู้นำสำคัญในการสร้างความเจริญ และความมั่งคงให้กับบ้านเมืองหลายท่าน   อาทิเช่น พระยาพัทลุง (ขุนคางเหล็ก) พระยาวิชิตเสนา (ทองขาว) พระยาอภัยบริรักษ์ (จุ้ย จันทโรจนวงศ์) และป้องกันเอกราชของชาติมาหลายครั้ง เช่น   เมื่อสงครามเก้าทัพ (พ.ศ.2328-2329) พระมหาช่วย วัดป่าลิไลย์ ได้นำชาวพัทลุงต่อสู้ป้องกันการรุกรานของพม่าจนได้รับความดีความชอบ โปรดเกล้าฯ   ให้เป็นพระยาช่วยทุกขราษฎร์ ช่วยราชการเมืองพัทลุง

            นอกจากสงครามกับพม่าแล้ว ชาวพัทลุงยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติ ในหัวเมืองภาคใต้   เพราะปรากฏอยู่เสมอว่าทางเมืองหลวงได้มีคำสั่งให้เกณฑ์ชาวพัทลุงพร้อมด้วยเสบียงอาหารไปทำสงคราม ปราบปรามกบฎในหัวเมืองมาลายู เช่น กบฎไทรบุรี   พ.ศ.2373 และ พ.ศ.2381 ซึ่งบทบาทดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นความสำคัญของเมืองพัทลุงทางด้านการเมือง การปกครองและแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำ ในอดีตเป็นอย่างดี

           ครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาลใน พ.ศ.2437   และได้ประกาศจัดตั้งมณฑลนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อ พ.ศ.2439 ประกอบด้วยเมืองต่างๆ คือ นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และหัวเมืองทั้ง 7   ที่เป็นเมืองปัตตานีเดิม สำหรับเมืองพัทลุงแบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอกลางเมือง อำเภออุดร อำเภอทักษิณ ขณะนั้นตัวเมืองตั้งอยู่ที่ตำบลลำปำ   จนกระทั่ง พ.ศ.2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองพัทลุงมาอยู่ที่บ้านวังเนียง ตำบลคูหาสวรรค์ ในปัจจุบัน   เพื่อจะได้อยู่ใกล้เส้นทางรถไฟสะดวกในการติดต่อกับเมืองต่างๆ จากอดีตถึงปัจจุบันเมืองพัทลุงได้มีการย้ายเมืองหลายครั้ง สถานที่ที่เคยเป็นเมืองที่ตั้งเมืองพัทลุง   ได้แก่
       1.โคกเมืองแก้ว ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลจองถนน อำเภอเขาชัยสน
       2.บ้านควนแร่ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมืองพัทลุง
       3.เขาชัยบุรี (เขาเมืองฯ) ปัจจุบัน คือ ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง ตำบลพนมวังก์ และ มะกอกเหนือ
          อำเภอควนขนุน
       4.ท่าเสม็ด ปัจจุบัน ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
       5.เมืองพระรถ ปัจจุบัน หมู่ที่ 1 ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง
       6.บ้านควนมะพร้าว ปัจจุบัน หมูที่ 2 ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง
       7.บ้านม่วง ปัจจุบัน หมู่ที่ 6 ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง
       8.บ้านโคกลุง ปัจจุบัน หมู่ที่ 4 ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง

 จังหวัดพัทลุงในปัจจุบันประกอบด้วย  11  อำเภอดังนี้

       1.อำเภอกงหรา
       2.อำเภอเขาชัยสน
       3.อำเภอควนขนุน
       4.อำเภอตะโหมด
       5.อำเภอบางแก้ว
       6.อำเภอปากพะยูน
       7.อำเภอป่าบอน
       8.อำเภอป่าพะยอม
       9.อำเภอเมืองพัทลุง
      10.อำเภอศรีนครินทร์
      11.อำเภอศรีบรรพต